เพื่อเพิ่มความเข้าใจ
จะขอยกตัวอย่างเพื่อประกอบ ขอเน้นว่าเป็นตัวอย่างเท่านั้น
เพราะยังไม่แน่ใจว่าสูงสุดของข้าราชการแต่ละประเภทเลื่อนได้กี่เปอร์เซ็นต์
สมมุติว่าสูงสุดเลื่อนได้ 12% ในรอบ
1 ปี
แบบที่หนึ่ง
เป็นการเลื่อนขั้นเงินเดือนในระบบเก่าซึ่งเลื่อนขั้นเงินเดือนปีละ
1 ครั้ง ในวันที่ 1 ตุลาคม และเลื่อนได้
2 อย่าง คือ 1 ขั้น กับ 2 ขั้น เท่านั้น
(ไม่นับรวมผู้ที่ไม่ได้รับ การเลื่อนขั้นเงินเดือนเพราะผลงานต่ำกว่าเกณฑ์)
แบบที่สอง
เป็นการเลื่อนขั้นเงินเดือนที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใช้ในปัจจุบัน
คือเลื่อนขั้นเงินเดือนปีละ 2 ครั้งในวันที่
1 เมษายน และ 1 ตุลาคม เป็นระบบ 0.5
ขั้น 1 ขั้น 1.5 ขั้น และ 2 ขั้น ในรอบ
1 ปี
แบบที่สาม
เป็นการเลื่อนขั้นเงินเดือนเป็นเปอร์เซ็นต์
โดยคิดจากร้อยละของค่ากลางเงินเดือน
(Mid Point)
ซึ่งจะเลื่อนได้สูงสุดกี่เปอร์เซ็นต์
หรือจะมีค่ากลางกี่ค่า มีค่ากลางบน
ค่ากลางล่าง หรือไม่ อัตราเงินเดือนขั้นต่ำสุดกี่บาท
ขั้นสูงสุดกี่บาท จะแบ่งข้าราชการเป็นกี่แท่ง
แต่ละแท่งมีระดับย่อยกี่ระดับ ก็แล้วแต่องค์กรกลางบริหารงานบุคคลจะกำหนด
สมมุติว่า ในรอบ 1 ปี เลื่อนสูงสุดได้
12% เมื่อเทียบกับระบบเดิมก็คือเลื่อนได้
ปีละ 3 ขั้น โดยประมาณ
จากการเปรียบเทียบทั้งสามแบบ
จะพบว่า
แบบที่หนึ่ง
นาย ก. ผลงานประจำปี 90% เลื่อนแบบที่หนึ่งได้
2 ขั้น ส่วนนาย ข. ผลงาน 89% ซึ่งต่างจาก นาย
ก. เพียงนิดเดียว กลับได้เลื่อน 1 ขั้น
ซึ่งอาจจะเป็นเพราะโควต้า 2 ขั้น เต็มแล้ว
ส่วนนาย ช. ผลงาน 60% ก็ได้รับการเลื่อนขั้นเงินเดือน
1 ขั้น เท่ากับนาย ข. เพราะระบบนี้ไม่มี
0.5 ขั้น ถ้าจะให้ได้รับการเลื่อนขั้นเงินเดือนก็ต้องได้รับอย่างน้อย
1 ขั้น
แบบที่สอง
นาย ก. ผลงานประจำปี 90% ก็ยังได้ 2
ขั้น ส่วนนาย ข. ผลงาน 89% จากแบบที่หนึ่งซึ่งได้
1 ขั้น เป็นได้ 1.5 ขั้น ซึ่งสูงขึ้นและใกล้กับนาย
ก. มากขึ้น ส่วนนาย ช. ผลงาน 60% จากแบบที่หนึ่งซึ่งได้
1 ขั้น ลดลงเป็น 0.5 ขั้น ซึ่งเป็นขั้นต่ำสุดเท่าที่ให้ได้
ซึ่งเป็นไป ตามหลักผลงาน การเลื่อนขั้นเงินเดือนแบบที่สองจะสะท้อนผลการปฏิบัติงานได้มากกว่า
แบบที่หนึ่ง
แบบที่สาม
นาย ก. ผลงานประจำปี 90% ได้รับการเลื่อนขั้นเงินเดือนรวม
11% นาย ข. ผลงาน 89% ใกล้เคียงกับนาย
ก. มาก ก็ได้ 11% เช่นเดียวกัน ส่วนนาย
ช. ซึ่งผลงานต่ำ จนแทบจะไม่ได้รับการเลื่อนขั้นเงินเดือนอยู่แล้ว
ก็จะได้ 1% ซึ่งคิดแล้วน้อยกว่า 0.5
ขั้นอีก เพราะผลงานต่ำมาก
จะเห็นได้ว่า
ระบบการเลื่อนขั้นเงินเดือนเป็นเปอร์เซ็นต์
จะสะท้อนผลงานได้ดีกว่าระบบเดิม กล่าวคือ
ผู้ที่มีผลงานสูง ย่อมได้รับการเลื่อนขั้นเงินเดือนสูง
ผู้ที่มีผลงานต่ำย่อมได้รับการเลื่อนขั้นเงินเดือนต่ำ
นอกจากนี้ หน่วยงานยังมีอิสระ ในการกำหนดนโยบายค่าตอบแทนอีก
สามารถกำหนดได้ว่าจะให้เลื่อนขั้นเงินเดือนในอัตราที่สูงเป็นร้อยละเท่าใดของจำนวนข้าราชการ
เลื่อนเงินเดือนในอัตราที่ต่ำเป็นร้อยละเท่าใดของจำนวนข้าราชการ
ได้ตามความเหมาะสมของแต่ละองค์กร ทั้งนี้
จะมีวงเงินเป็นตัวกำหนด
จากการเปรียบเทียบทั้งสามแบบคงจะพอทำให้น้องเข้าใจระบบการเลื่อนขั้นเงินเดือนได้ดีขึ้น
|