![]() |
พระราชบัญญัติ |
ภูมิพลอดุลยเดช
ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 เป็นปีที่ 30 ในรัชกาลปัจจุบัน |
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
มีพระบรมราช โองการโปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรให้มีกฎหมายว่าด้วยการกำหนดหลักเกณฑ์ เกี่ยวกับจ่ายเงินบางประเภทตามงบประมาณรายจ่าย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดย คำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติทำหน้าที่รัฐสภา ดังต่อไปนี้ |
มาตรา 1
พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า "พระราชบัญญัติการกำหนด หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภทตามงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. 2518" |
มาตรา 2*
พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศ ในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป *[รก.2518/32/8พ./12 กุมภาพันธ์ 2518] |
มาตรา 3
การจ่ายเงินตามงบประมาณรายจ่ายในประเภท ดังต่อไปนี้ ให้กระทำได้โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา (1) ค่าเช่าซื้อบ้านข้าราชการ (2) ค่าเช่าบ้านข้าราชการหรือค่าที่อยู่อาศัยของข้าราชการ (3) ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (4) เบี้ยประชุมกรรมการ (5) เงินเดือนระหว่างลาของข้าราชการ (6) เงินสวัสดิการจากทางราชการ พระราชกฤษฎีกาตามวรรคหนึ่งให้กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับ การจ่ายเงิน วิธีการเบิกจ่าย อัตราการจ่าย ของผู้มีสิทธิได้รับเงินนั้นและ หลักเกณฑ์อื่นตามที่เห็นสมควร |
มาตรา 4
นับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ พระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยระเบียบค่าเช่าบ้านข้าราชการ พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยค่าใช้จ่าย ในการเดินทางไปราชการ พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเบี้ยประชุมกรรมการ พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการจ่ายเงินเดือนระหว่างลาของข้าราชการพลเรือน และตุลาการ และพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการจ่ายเงินเดือนระหว่างลาของ ของข้าราชการอัยการ และประกาศกระทรวงการคลังที่ออกตามความใน พระราชกฤษฎีกาดังกล่าว และระเบียบการจ่ายเงินช่วยเหลือข้าราชการ ในประเภทต่าง ๆ ที่ใช้อยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้คงใช้ได้ต่อไป ระหว่างที่ยังมิได้มีการตราพระราชกฤษฎีกา ประกาศกระทรวงการคลัง หรือระเบียบที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้ขึ้นใหม่ |
มาตรา 5 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ |
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ สัญญา ธรรมศักดิ์ นายกรัฐมนตรี |
------------------------------------------------------ |
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจาก ในปัจจุบันหลักเกณฑ์การจ่ายเงินตามงบประมาณรายจ่ายที่เกี่ยวกับค่าเช่าบ้าน ค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทาง ค่ารักษาพยาบาล ค่าเล่าเรียนบุตร เป็นต้น ได้กำหนด ไว้ในพระราชกฤษฎีกา ประกาศกระทรวงการคลัง และระเบียบกระทรวง การคลังต่าง ๆ กัน สมควรแก้ไขให้กระทำได้เฉพาะในรูปพระราชกฤษฎีกา เท่านั้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ขึ้น |